JustMakeWeb.com รับทำเว็บไซต์ รับทำเว็บโรงแรม รับทำเว็บขายของ รับทำเว็บบริษัท เว็บสำเร็จรูป รับทำเว็บร้านค้า ออกแบบเว็บไซต์ ใช้งานได้ง่าย รองรับ SEO โปรโมท GOOGLE ให้ติดอันดับได้อย่างรวดเร็ว , ลงโฆษณาฟรี VPS ราคาถูก
รับทำเว็บไซต์
0
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2012-04-03
จำนวนสมาชิก : 151 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-03-03
จำนวนครั้งที่ชม : 5,300,496 ครั้ง
Online : 8 คน
จำนวนสินค้า : 641 รายการ

รวม ฿ THB

ไหว้พระจันทร์ 24 กันยายน 2561 สำคัญและต้องมีไรบ้าง ไม่ยากง่ายๆ พบคำตอบในบทความนี้ค่ะ

2018-09-06 22:30:22 ใน เกี่ยวกับเทศกาลจีน » 0 5131



   เทศกาลไหว้พระจันทร์ เป็นเทศกาลที่ชาวจีนให้ความสำคัญเป็นอันดับสองรองจากเทศกาลตรุษจีน หลายๆ ประเทศที่มีชาวจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จะฉลองเทศกาลนี้กันอย่างสนุกสนาน มีทั้งการเชิดสิงโตตามท้องถนนเพื่อความเป็นสิริมงคล และ การไหว้พระจันทร์ในยามค่ำคืนวันเพ็ญเดือน 8 ปีนี้ตรงกับ วันจันทร์ที่ 24 กันยายน 2561 ซึ่งจะต้องมีของไหว้คือ ขนมไหว้พระจันทร์ กับการประดับประดาโต๊ะบูชาอย่างสวยงาม สมาชิกของครอบครัวจะมาอยู่พร้อมหน้ากันเพื่อกินขนมพร้อมจิบชาภายใต้แสงจันทร์ เด็กๆ ก็จะถือโคมไฟกระดาษที่ทำเป็นรูปต่างๆ เดินไปตามถนน เป็นบรรยากาศที่สนุกสนานสำหรับตำนานของต้นกำเนิดเทศกาลไหว้พระจันทร์มีหลายตำนานด้วยกัน ตำนานหนึ่งว่า จักรพรรดิ์แห่งราชวงศ์ฮั่นเป็นผู้ริเริ่มการฉลองนี้เพื่อกราบไหว้ดวงจันทร์เป็นเวลา 3 วัน ในฤดูใบไม้ร่วง อีกตำนานบอกว่าเกิดขึ้นในช่วงที่มองโกล ยึดครองจีน โดยใช้ขนมไหว้พระจันทร์เป็นที่ซุกซ่อนข้อความลับของพวกกบฏที่มีถึงประชาชนทั่วทั้งประเทศให้มาชุมนุมครั้งใหญ่ในเดือน 8 เพื่อช่วยกันปราบทหารมองโกล

 
          อีกตำนานหนึ่งก็ว่า มีหญิงงามชื่อว่าฉางอี้ หรือฉางเอ๋อ ภรรยาของขุนนางจีน เกิดไปกินยาวิเศษที่กินเข้าไปแล้วสามารถเหาะขึ้นไปอยู่บนดวงจันทร์ได้ แถมยังได้ดื่มน้ำอมฤตจากนางฟ้าบนสวรรค์จนเป็นอมตะ กลายเป็นเทพธิดาอยู่บนดวงจันทร์ เป็นผู้ให้น้ำฝนแก่ชาวไร่ชาวนาเพื่อเพาะปลูก ชาวจีนจึงทำเพื่อบูชานางในคืนวันเพ็ญเดือน 8 เป็นการตอบแทน นั่นก็คือ “ขนมไหว้พระจันทร์” หรือที่คนจีนเรียกขนมเอี้ยปิ่งนั่นเอง

       “ขนมไหว้พระจันทร์” เป็นหัวใจสำคัญอย่างหนึ่งในเทศกาลนี้ มีความหมายถึงความพรั่งพร้อม ความสมบูรณ์ และความสมหวัง ขนมก้อนเล็กๆ นี้มีกำเนิดที่ประเทศจีนเมื่อประมาณ 600 ปีมาแล้ว แต่ข้ามน้ำข้ามทะเลมาสู่เมืองไทยเป็นครั้งแรก เมื่อประมาณ 70 ปีที่ผ่านมา ขนมไหว้พระจันทร์ดั้งเดิมมีเพียงไส้ลูกบัว ถั่วแดง โหงวยิ้ง แต่ปัจจุบันได้ถูกพัฒนารสชาติให้เข้ากับยุคสมัยและรสปากของคนรุ่น ใหม่มากขึ้น

 
เรามาเตรียมเครื่องเซ่นไหว้เจ้ากันเถอะคะ  โดยเริ่มจาก
 
1. เริ่มจากการตั้งโต๊ะกลางแจ้ง ซึ่งอาจจะมีการประดับประดาให้สวยงามด้วยอ้อยลำยาวๆ ตัดจากราก และเอายอดด้วยผูกไว้ ที่ด้านหน้าโต๊ะไหว้ ยึดกับขาโต๊ะ แล้วทำขึ้นไปเป็นซุ้มประตูแล้วตกแต่งสวยงาม พร้อมดอกไม้ ใส่แจกันประดับโต๊ะไหว้ หรือตกแต่งตามความถนัดของแต่ละท่านคะ

                              
 
 
  1. สิ่งต่อมา คือ
 
     2.1 ของคาวอาหารเจแห้ง 5 อย่าง คือ วุ้นเส้น, ดอกไม้จีน, เห็ดหูหนู, เห็ดหอม, ฟองเต้าหู้

          

     2.2 ขนมไหว้ขนมไหว้พระจันทร์ไส้อะไรก็ได้ ที่ไม่มีไข่แดงเค็ม และต้องไม่ใช่ไส้โหงวยิ้ง หรือเมล็ด 5 อย่าง เพราะไส้โหงวยิ้ง มีใส่มันหมูแข็งจึงเป็นของชอ คือมีคาว แต่ไหว้เจ้าแม่ ต้องไหว้อาหารเจเท่านั้น
         



    2.3 ขนมโก๋มีหลายชนิดเช่น ขนมโก๋ขาว , โก๋เหลือง , โก๋เช้ง และขนมโก๋อ่อนแบบต่างๆ
    


    2.4 ผลไม้อะไรก็ได้เหมือนปกติ และเพิ่มพิเศษ ส้มโอใหญ่ๆสวยๆ
  

 
  1. ใช้น้ำชา 5 ถ้วย
  2. ข้าวสวย หรือข้าวสาร 5 ถ้วย
 
  1. เครื่องกระดาษไหว้เจ้าที่ใช้ ได้แก่
    3.1 . เนี้ยเต้ง หรือวังเจ้าแม่กวนอิม
          

      
3.2. โป๊ยเซียนเตี๋ย คือ กระดาษเงินกระดาษทองลายโป๊ยเซียน
       


3.4  กิมก่ง (โคมคู่ )
  
        

3.5 เต้าเซียน เเละ ตั๋วป้อเล็ก
    



3.6 เทียงเท่าจี้ และ ตั๋วกิมพวง หรือ ตั๋วกิมลายอื่นๆ

      
     
3.7 กระดาษเงินกระดาษทองแบบจัดทำพิเศษสวยงาม เช่น     อ้วงมึ้ง หรือผ้าม่าน, เนี้ยเพ้า คือ ชุดเจ้าแม่ หรือกวนอิมเนี้ยเพ้า
 
    


3.8  จำนวนธูปไหว้ 3 ดอก หรือบางบ้านใช้ธูปไหว้พิเศษ เป็น
ธูปมังกรดอกใหญ่ดอกเดียว หรือ ดอกย่อมๆ 3 ดอกเช่นเดียวกับ พร้อมเทียนสีเหลือง

  


 
3.9 ของไหว้พิเศษอื่นๆเครื่องใช้อุปโภค หรือสบู่ แชมพู ยาสีฟัน แป้ง เครื่องสำอาง ผ้าเช็ดหน้าอะไรก็ได้ที่เราใช้ประจำ และ เครื่องประดับ พร้อมดอกไม้ ใส่แจกันประดับโต๊ะไหว้ ของเเต่งตัวสวยๆงามๆ

- เวลาไหว้ ไหว้หัวค่ำ บางบ้านชอบไหว้สายเพื่อคอยเวลาให้พระจันทร์เต็มดวงขออวยพรให้ผู้อ่านทุกท่านมีความสุขในวันไหว้พระจันทร์ และมีความสามัคคีรักใคร่กลมเกลียวกันในครอบครัวดุจดังความกลมเกลียวของดวงจันทร์
(วันเพ็ญเต็มดวงนะคะ)